รีวิวสินค้า: Arduino Mega 2560 R3

Arduino Mega 2560 R3 อีกหนึ่ง Microcontroller Board คุณภาพ...

รีวิว Aduino UNO R3 [Arduino Compatible Board]

Aduino UNO R3 บอร์ดพิมพ์นิยม...

This is default featured slide 3 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.This theme is Bloggerized by Lasantha Bandara - Premiumbloggertemplates.com.

This is default featured slide 4 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.This theme is Bloggerized by Lasantha Bandara - Premiumbloggertemplates.com.

This is default featured slide 5 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.This theme is Bloggerized by Lasantha Bandara - Premiumbloggertemplates.com.

8/13/2558

ทำความรู้จักกับ ไอซีเบอร์ 555 มหานิยม



ไอซีเบอร์ 555 เป็นไอซีที่รู้จักกันดีในบรรดานักอิเล็กทรอนิกส์ ไอซีตัวนี้ได้รับการออกแบบ และประดิษฐ์โดยนักออกแบบชิปที่มีชื่อเสียง คือนายฮันส์ อาร์ คาเมนซินด์ (Hans R. Camenzind) โดยเริ่มออกแบบเมื่อ พ.ศ. 2513 และแนะนำผลิตภัณฑ์ในปีถัดมา โดยบริษัทซิกเนติกส์ คอร์ปอเรชัน (Signetics Corporation) มีหมายเลขรุ่น SE555/NE555 และเรียกชื่อว่า "The IC Time Machine" มีการใช้อย่างกว้างขวาง ทั้งนี้เพราะสามารถใช้งานง่าย ราคาถูก มีเสถียรภาพที่ดี ในปัจจุบันนี้ บริษัทซัมซุงของเกาหลี สามารถผลิตได้ปีละกว่า 1 พันล้านตัว

ไอซีเบอร์ 555 เป็นไอซียอดนิยมและประสบความสำเร็จมากครับครับ ใช้ในการนำสร้างสัญญาณรูปคลื่นแบบต่างๆ เช่น SquareWave , Pulse, สัญญาณ ramp และวงจรตั้งเวลา ไอซีเบอร์ 555 เป็นวงจรรวมที่มีอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ขนาดเล็กอื่นๆ อยู่ภายใน และมีส่วนที่ต้องต่อภายนอกเพื่อควบคุมการทำงาน ซึ่งง่ายต่อการออกแบบ ในการสร้างสัญญาณพัลซ์ความถี่ต่างๆ สามารถเข้าใจและเรียนรู้การทำงานได้ง่ายมากครับ

นอกจากไอซีเบอร์ 555 แล้วยังมีไอซีเบอร์ 556 ที่เป็นแบบ Dual Timer ประกอบด้วย ไอซีเบอร์ 555 จำนวน 2 ตัว อยู่ภายในตัวเดียวกัน เพื่อใช้เป็นวงจรตั้งเวลา และสะดวกในการออกแบบวงจรที่ต้องใช้ไอซีเบอร์ 555 หลายๆตัว

ไอซี 555 มีโหมดการทำงาน 3 โหมด ดังนี้

  • โมโนสเตเบิล (Monostable) ในโหมดนี้ การทำงานของ ไอซี 555 จะเป็นแบบซิงเกิ้ลช็อต หรือวันช็อต (one-shot) โดยการสร้างสัญญาณครั้งเดียว ประยุกต์การใช้งานสำหรับการนับเวลา การตรวจสอบพัลส์ สวิตช์สัมผัส ฯลฯ
  • อะสเตเบิล (Astable) ในโหมดนี้ การทำงานจะเป็นออสซิลเลเตอร์ การใช้งาน ได้แก่ ทำไฟกะพริบ, กำเนิดพัลส์, กำเนิดเสียง, เตือนภัย ฯลฯ
  • ไบสเตเบิล (Bistable) ในโหมดนี้ ไอซี 555 สามารถทำงานเป็นฟลิปฟล็อป (flip-flop) ถ้าไม่ต่อขา DIS และไม่ใช้คาปาซิเตอร์ ใช้เป็นสวิตช์ bouncefree latched switches เป็นต้น

8/12/2558

Ezy Arduino Projects 12: แสดงผลด้วย 7 Segment Part I

อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ แทบทุกชนิดต้องมีการแสดงผลลัพธ์ เพื่อติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้งาน เพราะเราจะได้รู้สถานะการทำงานว่าถึงไหนแล้ว ที่ง่ายที่สุดคือ LED เช่น การชาร์จแบตเตอรี ไม่ว่าจะเป็นมือถือ หรือโน๊ตบุ๊ค เป็นต้น ต่างก็ใช้ LED ในการแสดงผล แต่ LED จะมีลอจิก แค่ Yes or No หรือ ON/OFF เท่านั้น ทำให้ไม่เพียงพอต่อการสื่อสารกับผู้ใช้งาน เช่น ต้องการแสดงผลการวัดอุณภูมิ, ความชื้น, ความดัน เป็นต้น และอุปกรณ์ที่จะมาช่วยเราแก้ปัญหานี้ก็คือ 7 Segment ครับ สามารถแสดงผลได้ทั้งตัวเลขและตัวอักษร ราคาถูกหาซื้อง่ายครับ

ในบทความนี้เราจะพาท่านใช้ Arduino Board ขับเจ้า 7 Segment แบบ Common Anode กันครับ ซึ่งต้องคิดกลับด้านกันเจ้า 7 Segment แบบ Common Cathode ทุกๆ อย่างเลยครับ เช่น จาก ขา 8 กะ 3 ต้องต่อกราวน์ ก็ต้องมาต่อแรงดัน 5V หรืออยากให้แสดงผลที่ Segment ไหนจากที่ต้องส่ง Logic 1 หรือ HIGH ก็ต้องคิดกลับด้านมาเป็น LOW แทน ดูแล้วท้ายทายดีไหมครับ เรามาเริ่มกันเลยนะครับ

อุปกรณ์ที่ต้องใช้:
ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง: 

การไล่ขาของ 7 Segment

การต่อขาแต่ะละขา ระหว่าง Arduino กับ 7 Segment

  • ขา 2 >> 7 (A) 
  • ขา 3 >> 6 (B)
  • ขา 4 >> 4 (C)
  • ขา 5 >> 2 (D)
  • ขา 6 >> 1 (E)
  • ขา 7 >> 6 (F)
  • ขา 8 >> 10 (G)
  • ขา 9 >> 5 (DP) แสดง จุด 
  • 5V >> 3, 8 ( ถ้าเป็น Common cathode จะต่อลงกราวด์ )
1. เมื่อเตรียมอุปกรณ์ เตรียม Source Code เรียบร้อยแล้ว ก็ต่อสายต่าง ๆ ตามรูปเลยนะครับ


2. เมื่อต่อสายสายตามลำดับเสร็จแล้ว ท่านก็จะได้วงจรขับ 7 Segment แบบ Common anode ดังรูป


3. พิมพ์ Source Code ตัวอย่าง แล้วอัพโหลดเข้า Arduino Board


4. เมื่อทำตามทุกขั้นตอนอย่างถูกต้อง ก็จะได้ผลลัพธ์ ดังรูปครับครับ


โดยโปรแกรมที่เขียนขึ้นนี้ จะไปขับ 7 Segment โดยเริ่มแสดงผลไล่ตั้งแต่เลข 9, 8, 7 ... 0 แต่ละช่วงจะหน่วงเวลา 1 วินาที และเมื่อถึง 0 จะหน่วงเวลา 4 วินาที่ครับ

8/11/2558

Transistors คืออะไร

ทรานซิสเตอร์ (transistor) เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำที่สามารถควบคุมการไหลของอิเล็กตรอนได้ ใช้ทำหน้าที่ ขยายสัญญาณไฟฟ้า, เปิด/ปิดสัญญาณไฟฟ้า, ควบคุมแรงดันไฟฟ้าให้คงที่, หรือมอดูเลตสัญญาณไฟฟ้า เป็นต้น