รีวิวสินค้า: Arduino Mega 2560 R3

Arduino Mega 2560 R3 อีกหนึ่ง Microcontroller Board คุณภาพ...

รีวิว Aduino UNO R3 [Arduino Compatible Board]

Aduino UNO R3 บอร์ดพิมพ์นิยม...

This is default featured slide 3 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.This theme is Bloggerized by Lasantha Bandara - Premiumbloggertemplates.com.

This is default featured slide 4 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.This theme is Bloggerized by Lasantha Bandara - Premiumbloggertemplates.com.

This is default featured slide 5 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.This theme is Bloggerized by Lasantha Bandara - Premiumbloggertemplates.com.

8/13/2558

ทำความรู้จักกับ ไอซีเบอร์ 555 มหานิยม



ไอซีเบอร์ 555 เป็นไอซีที่รู้จักกันดีในบรรดานักอิเล็กทรอนิกส์ ไอซีตัวนี้ได้รับการออกแบบ และประดิษฐ์โดยนักออกแบบชิปที่มีชื่อเสียง คือนายฮันส์ อาร์ คาเมนซินด์ (Hans R. Camenzind) โดยเริ่มออกแบบเมื่อ พ.ศ. 2513 และแนะนำผลิตภัณฑ์ในปีถัดมา โดยบริษัทซิกเนติกส์ คอร์ปอเรชัน (Signetics Corporation) มีหมายเลขรุ่น SE555/NE555 และเรียกชื่อว่า "The IC Time Machine" มีการใช้อย่างกว้างขวาง ทั้งนี้เพราะสามารถใช้งานง่าย ราคาถูก มีเสถียรภาพที่ดี ในปัจจุบันนี้ บริษัทซัมซุงของเกาหลี สามารถผลิตได้ปีละกว่า 1 พันล้านตัว

ไอซีเบอร์ 555 เป็นไอซียอดนิยมและประสบความสำเร็จมากครับครับ ใช้ในการนำสร้างสัญญาณรูปคลื่นแบบต่างๆ เช่น SquareWave , Pulse, สัญญาณ ramp และวงจรตั้งเวลา ไอซีเบอร์ 555 เป็นวงจรรวมที่มีอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ขนาดเล็กอื่นๆ อยู่ภายใน และมีส่วนที่ต้องต่อภายนอกเพื่อควบคุมการทำงาน ซึ่งง่ายต่อการออกแบบ ในการสร้างสัญญาณพัลซ์ความถี่ต่างๆ สามารถเข้าใจและเรียนรู้การทำงานได้ง่ายมากครับ

นอกจากไอซีเบอร์ 555 แล้วยังมีไอซีเบอร์ 556 ที่เป็นแบบ Dual Timer ประกอบด้วย ไอซีเบอร์ 555 จำนวน 2 ตัว อยู่ภายในตัวเดียวกัน เพื่อใช้เป็นวงจรตั้งเวลา และสะดวกในการออกแบบวงจรที่ต้องใช้ไอซีเบอร์ 555 หลายๆตัว

ไอซี 555 มีโหมดการทำงาน 3 โหมด ดังนี้

  • โมโนสเตเบิล (Monostable) ในโหมดนี้ การทำงานของ ไอซี 555 จะเป็นแบบซิงเกิ้ลช็อต หรือวันช็อต (one-shot) โดยการสร้างสัญญาณครั้งเดียว ประยุกต์การใช้งานสำหรับการนับเวลา การตรวจสอบพัลส์ สวิตช์สัมผัส ฯลฯ
  • อะสเตเบิล (Astable) ในโหมดนี้ การทำงานจะเป็นออสซิลเลเตอร์ การใช้งาน ได้แก่ ทำไฟกะพริบ, กำเนิดพัลส์, กำเนิดเสียง, เตือนภัย ฯลฯ
  • ไบสเตเบิล (Bistable) ในโหมดนี้ ไอซี 555 สามารถทำงานเป็นฟลิปฟล็อป (flip-flop) ถ้าไม่ต่อขา DIS และไม่ใช้คาปาซิเตอร์ ใช้เป็นสวิตช์ bouncefree latched switches เป็นต้น

8/12/2558

Ezy Arduino Projects 12: แสดงผลด้วย 7 Segment Part I

อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ แทบทุกชนิดต้องมีการแสดงผลลัพธ์ เพื่อติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้งาน เพราะเราจะได้รู้สถานะการทำงานว่าถึงไหนแล้ว ที่ง่ายที่สุดคือ LED เช่น การชาร์จแบตเตอรี ไม่ว่าจะเป็นมือถือ หรือโน๊ตบุ๊ค เป็นต้น ต่างก็ใช้ LED ในการแสดงผล แต่ LED จะมีลอจิก แค่ Yes or No หรือ ON/OFF เท่านั้น ทำให้ไม่เพียงพอต่อการสื่อสารกับผู้ใช้งาน เช่น ต้องการแสดงผลการวัดอุณภูมิ, ความชื้น, ความดัน เป็นต้น และอุปกรณ์ที่จะมาช่วยเราแก้ปัญหานี้ก็คือ 7 Segment ครับ สามารถแสดงผลได้ทั้งตัวเลขและตัวอักษร ราคาถูกหาซื้อง่ายครับ

ในบทความนี้เราจะพาท่านใช้ Arduino Board ขับเจ้า 7 Segment แบบ Common Anode กันครับ ซึ่งต้องคิดกลับด้านกันเจ้า 7 Segment แบบ Common Cathode ทุกๆ อย่างเลยครับ เช่น จาก ขา 8 กะ 3 ต้องต่อกราวน์ ก็ต้องมาต่อแรงดัน 5V หรืออยากให้แสดงผลที่ Segment ไหนจากที่ต้องส่ง Logic 1 หรือ HIGH ก็ต้องคิดกลับด้านมาเป็น LOW แทน ดูแล้วท้ายทายดีไหมครับ เรามาเริ่มกันเลยนะครับ

อุปกรณ์ที่ต้องใช้:
ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง: 

การไล่ขาของ 7 Segment

การต่อขาแต่ะละขา ระหว่าง Arduino กับ 7 Segment

  • ขา 2 >> 7 (A) 
  • ขา 3 >> 6 (B)
  • ขา 4 >> 4 (C)
  • ขา 5 >> 2 (D)
  • ขา 6 >> 1 (E)
  • ขา 7 >> 6 (F)
  • ขา 8 >> 10 (G)
  • ขา 9 >> 5 (DP) แสดง จุด 
  • 5V >> 3, 8 ( ถ้าเป็น Common cathode จะต่อลงกราวด์ )
1. เมื่อเตรียมอุปกรณ์ เตรียม Source Code เรียบร้อยแล้ว ก็ต่อสายต่าง ๆ ตามรูปเลยนะครับ


2. เมื่อต่อสายสายตามลำดับเสร็จแล้ว ท่านก็จะได้วงจรขับ 7 Segment แบบ Common anode ดังรูป


3. พิมพ์ Source Code ตัวอย่าง แล้วอัพโหลดเข้า Arduino Board


4. เมื่อทำตามทุกขั้นตอนอย่างถูกต้อง ก็จะได้ผลลัพธ์ ดังรูปครับครับ


โดยโปรแกรมที่เขียนขึ้นนี้ จะไปขับ 7 Segment โดยเริ่มแสดงผลไล่ตั้งแต่เลข 9, 8, 7 ... 0 แต่ละช่วงจะหน่วงเวลา 1 วินาที และเมื่อถึง 0 จะหน่วงเวลา 4 วินาที่ครับ

8/11/2558

Transistors คืออะไร

ทรานซิสเตอร์ (transistor) เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำที่สามารถควบคุมการไหลของอิเล็กตรอนได้ ใช้ทำหน้าที่ ขยายสัญญาณไฟฟ้า, เปิด/ปิดสัญญาณไฟฟ้า, ควบคุมแรงดันไฟฟ้าให้คงที่, หรือมอดูเลตสัญญาณไฟฟ้า เป็นต้น

7/18/2558

รีวิวสินค้า: Arduino Mega 2560 R3

Arduino Mega 2560 R3 ถูกออกแบบมาให้สามารถรองรับโปรเจ็คที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นกว่าตัว Arduino UNO R3 เหมาะสำหรับโปรเจ็คที่ต้องใช้พลังในการคำนวณค่อนข้างเยอะ เช่น เครื่องพรินต์ 3D หรือพวกงานหุ่นยนต์
Arduino Mega 2560 R3 Product Review
Buy Arduino Mega 2560 R3 from EzyArduino.com
Buy Arduino Mega 2560 R3 from EzyArduino.com
Arduino Mega 2560 R3 ตัวนี้ใช้ MCU ATmega2560 มาพร้อมกับ Digital I/O ถึง 54 ขา ( มี 15 ขาที่สามารถสร้าง PWM output ได้), สำหรับ Analog output ก็เตรียมมาให้จุใจนะครับ 16 ขาด้วยกัน เยอะกว่าเจ้า UNO R3 เกือบ 3 เท่าตัวเลยทีเดียว การสื่อสารแบบอนุกรมมี 4 พอร์ต crystal oscillator ที่ 16 MHz มีปุ่มรีเซ็ตมาให้สำหรับกรณีแฮงค์ ต่อไฟเลี้ยงจากภายนอกได้ และจะใช้ไฟเลี้ยงจาก USB ก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด

Specification


MicrocontrollerATmega2560
Operating Voltage5V
Input Voltage (recommended)7-12V
Input Voltage (limits)6-20V
Digital I/O Pins54 (of which 15 provide PWM output)
Analog Input Pins16
DC Current per I/O Pin40 mA
DC Current for 3.3V Pin50 mA
Flash Memory256 KB of which 8 KB used by bootloader
SRAM8 KB
EEPROM4 KB
Clock Speed16 MHz
โดยรวมแล้ว Mega 2560 R3 ตัวนี้เตรียมทุกอย่างมาให้สำหรับโปรเจ็คที่ซับซ้อน ค่อนข้างครบครันกันเลยทีเดียว เหมาะสำหรับอัพเกรดจากการใช้งานพื้นฐานจากเจ้าตัว UNO R3 ขึ้นมาอีกระดับนึงครับ

รีวิวสินค้า: Arduino UNO R3

วันนี้ ทีมงาน EzyArduino.com จะมารีวิวสินค้า Arduino UNO R3 บอร์ด ซึ่งเป็น Arduino Compatible Board พิมพ์นิยมของเรา ตัวเล็ก ใช้ง่าย ราคาถูก ประสิทธิภาพคุ้มค่ามากครับ
Arduino UNO R3 Product Review
Buy Arduino UNO R3 from EzyArduino.com
Buy Arduino UNO R3 from EzyArduino.com
บอร์ด Arduino UNO R3 ตัวนี้ใช้ MCU ATmega328 เหมาะสำหรับมือใหม่ หรือผู้เริ่มต้นหัดเล่น ไมโครคอนโทรเลอร์บอร์ดมากครับ เพราะตามเว็บสอน หรือหนังสือต่าง ๆ ก็มักจะเอาเจ้า UNO ตัวนี้มาเป็นตัวอย่างในการสอนเสมอ และที่สำคัญ หาอุปกรณ์ต่อพวก Shield ได้ง่ายมากครับ เพราะด้วยความที่เป็นรุ่นยอดนิยม จึงมีอุปกรณ์ซัพพอร์ตเต็มไปหมด มี Digital I/O มาให้ 14 ขาครับ และ Analog Input 6 ขา ขนาดกำลังดีสำหรับโปรเจ็คเริ่มต้นที่ไม่มีความซับซ้อนอะไรมาก แต่ถ้ามีโปรเจ็คที่ซับซ้อน เจ้า UNO ตัวนี้ก็เอาอยู่ครับ ดังจะเห็นได้จากบทความต่อ ๆ ที่ผมจะเอามาลงเป็นตัวอย่างเรื่อย ๆ นะครับ

Arduino UNO R3 Specification:

Microcontroller ATmega328
Operating Voltage 5V
Input Voltage (recommended) 7-12V
Input Voltage (limits) 6-20V
Digital I/O Pins 14 (of which 6 provide PWM output)
Analog Input Pins 6
DC Current per I/O Pin 40 mA
DC Current for 3.3V Pin 50 mA
Flash Memory 32 KB (ATmega328) of which 0.5 KB used by bootloader
SRAM 2 KB (ATmega328)
EEPROM 1 KB (ATmega328)
Clock Speed 16 MHz
Length 68.6 mm
Width 53.4 mm
Weight 25 g
สำหรับท่านที่มีเจ้า Arduino UNO R3 ตัวนี้ในมือแล้ว เรามาเริ่มโปรเจ็คแรกคือ การสร้างวงจรไฟกระพริบ กันเลยครับ

7/17/2558

Ezy Arduino Projects 11: แสดงผลด้วย LCD

ในบทความ Arduino Projects ที่ผ่าน ๆ มา เราได้ดูผลลัพธ์ของการทำงาน ส่วนใหญ่ไม่ผ่าน LED ก็เป็น Serial Port แต่ในความเป็นจริง หากเราทำโปรเจ็คอะไรซักอย่างเมื่อประกอบ เป็นชินงานแล้วคงอาศัยการแสดงผลจาก Serial Port ไม่ได้แล้วละครับ

Ezy Arduino Projects 10: วัดระยะทางด้วย Ultrsonic Sensor


วันนี้เราจะมาทำ Workshop เรื่องการวัดระยะกันนะครับเซ็นเซอร์ที่ใช้ในการทดลองนี้ก็คือ HC-SR04 เป็นเซ็นเซอร์คุณภาพดี ราคาก็แสนถูกมากครับ

การทำงานของเจ้า HC-SR04 ก็คือมันจะส่งสัญญาณออกไป คือสัญญาณ ping นั่นเอง แล้วก็รอสัญญาณที่มันสะท้อนกลับมา ว่าเป็นเวลาเท่าไร ก็เอามาคำนวณเป็นระยะทางนั่นเอง ถ้าจำสูตรฟิสิกส์มอปลายได้ก็คือ ไปกลับจับเวลา หาร2 ก็ได้ระยะทาง ประมาณนี้นะครับ

ท่านที่ทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ หรือ เน็ตเวิร์ค ก็คงจะคุ้นเคยกับคำสั่ง ping เป็นอย่างดี นี่ก็หลักการเดียวกัน หรือในเรือดำน้ำ นี่ก็ ping เดียวกันครับ หลักการเดียวกัน


อุปกรณ์ที่ต้องใช้:
  1. Ultrasonic Sensor HC-SR04
  2. Arduino Board ( ในบทความนี้ใช้ UNO R3 )  
  3. Jump Wire
  4. Breadboard

ไฟล์ที่จำเป็น:
  1. Source Code
  2. Data Sheet ( โหลดหรือไม่ก็ได้ )
จัดเตรียมอุปกรณ์ และไฟล์ที่จำเป็นเสร็จแล้ว ก็มาเริ่มกันเลยนะครับ

1. ต่อวงจรตามรูปนะครับ โดยต่อสายไฟแต่ละเส้นดังนี้

  • Vcc ( สายสีแดง ) ต่อเข้า 5V
  • Trig ( สายสีฟ้า ) ต่อเข้าขา 6
  • Echo ( สายสีเขียว ) ต่อเข้าขา 7
  • Gnd ( สายสีดำ ) ต่อลงกราวด์ครับ GND
2. เมื่อต่อเสร็จแล้ว วงจรวัดระยะทางของเรา ก็จะออกมาหน้าหน้าประมาณนี้ครับ


3. จากนั้น พิมพ์โค๊ดตามตัวอย่างที่ดาวน์โหลดมา แล้ว Upload เข้าตัว Arduino Board ครับ

 

4.เมื่อทำทุกอย่างตามขั้นตอนอย่างถูกต้อง ก็จะได้ผลลัพธ์ทาง Serial Monitor ดังภาพครับ


ช่วงที่รันโปรแกรมอยู่ท่านก็ลองเอามือ ปัด ๆ แกว่ง ๆ อยู่หน้าเซนเซอร์ ก็จะเห็นระยะทางที่วัดได้เปลี่ยนแปลงไปครับ

Ezy Arduino Projects 08: Data Logger with Web Server

บทความนี้ จะเป็นการนำเอา Project

Ezy Arduino Projects 07: มาสร้าง Web Server ด้วย Arduino กันเถอะ

การสร้าง Web Server ด้วย Arduino จะเป็นการ

Ezy Arduino Projects 04: การสร้างวงจรควบคุม RGB led ด้วย Arduino

บทความนี้ จะเป็นการสร้างวงจรควบคุม RGB led ด้วย Arduino นะครับ

Ezy Arduino Projects 03: การสร้างวงจรสัญญาณไฟจราจรด้วย Arduino

บทความนี้ จะเป็นการสร้างวงจรสัญญาณไฟจราจรด้วย Arduino นะครับในส่วนตัววงจร จะมีลักษณะคล้าย ๆ กับวงจรไฟกระพริบ ใน Workshop แรกที่ได้ทดลองกันผ่านมานั่นแหละครับ จะต่างกันเพียงแค่ เพิ่มหลอด Led ขึ้นมาหน่อยและเพิ่มสีเหลืองและเขียวเข้ามา แต่ในส่วนของการเขียนโปรแกรม ก็จะซับซ้อนเพิ่มขึ้นมาอีกเล็กน้อย เพราะต้องควบคุม การติดการดับ ของหลอด Led ทั้ง 3 หลอดให้เป็นไปตามจังหวะเหมือนที่เรา ๆ ท่าน ๆ เห็นตามสี่แยกไฟแดงนั่นแหละครับ

อุปกรณ์ที่ต้องใช้:
  1.  หลอด Led สีแดง, สีเหลือง, สีเขียว อย่างละ 1 หลอด
  2. Jumper Wire
  3.  270 Ω Resistor 1/4w 5%
  4. Arduino board ( แนะนำ Arduino UNO R3 )
ดาวน์โหลด Sourcecode: Arduino TrafficLight

 เมื่อเตรียมอุปกรณ์พร้อมแล้ว ก็เริ่มลงมือกันได้เลยครับ

1. ต่อวงจรตามรูป
 

2. เขียน Source code โดยบันทึกในชื่อ TrafficLight หรือท่านจะบันทึกเป็นชื่ออื่นก็ได้ครับ แนะนำให้ดาวน์โหลด แล้วพิมพ์ตามนะครับ จะได้เป็นการอ่าน Source code ให้เข้าใจไปในตัว เมื่อเสร็จแล้วก็ทำการ อัพโหลด Sketch ได้เลยครับ


 

3. เมื่อทำตามทุกขั้นตอนอย่างถูกต้อง จะได้ผลลัพธ์ดังรูปครับ รูปนี้จังหวะไฟแดง


 

4. รูปนี้ จังหวะไฟเหลือง - แดง เหลือถ้าท่านอยากให้มีแค่ไฟเหลืองเพียว ๆ ก็สามารถส่งสัญญาณ LOW ไปที่ขา 12 ซึ่งเป็นขาที่ส่งสัญญาณไป Led สีแดง

 

5. จังหวะไฟเขียว

จาก Workshop นี้ท่านผู้อ่าน ก็ได้เริ่มทำวงจรที่ซับซ้อนขึ้น และเขียนโปรแกรมที่มีความซับซ้อนขึ้นมาในระดับหนึ่งแล้วนะครับ ใน Workshop ต่อๆไปก็จะมีความซับซ้อนขึ้นมาเรื่อย ๆ ตามลำดับครับ

Ezy Arduino Projects 05: สร้างวงจรวัดอุณหภูมิและความชื้นด้วย Arduino


ในบทความนี้ เราจะมาสร้างวงจรวัดอุณหภูมิ และความชื้นอย่างง่ายกันครับ โดยใช้เซนเซอร์ DHT11 ซึ่งเป็นเซนเซอร์ที่สร้างขึ้นมา เพื่อวัดอุณหภูมิ และอุณหภูมิโดยเฉพาะ ซึ่งก็มีเบอร์อื่น ๆ เช่น DHT21, DHT22 ซึ่งราคาก็เพิ่มขึ้นตามคุณภาพ แต่สำหรับผู้เริ่มต้น ใช้ DHT11 ก็วัดได้เช่นกันครับ หรือจะนำไปใช้หน้างานจริง ก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด

สำหรับเซนเซอร์ DHT11 ท่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้ค่อนข้างหลากหลายนะครับ ที่แน่ ๆ เลยคือ Temperature Station ท่านอาจนำ Ethernet Shield มาต่อกับเจ้า Arduino แล้วสร้าง Temperature Statuion Online บันทึกผลการวัดอุณหภูมิแบบเรียลไทม์เลยก็ได้ หรือจะทำระบบ Water Proof สำหรับท่านที่ปลูกผัก Hydroponics ซึ่งคุณภาพของน้ำและอุณหภูมิ มีความจำเป็นต่อการปลูกผักในนำเป็นอย่างยิ่ง หรือจะนำไปต่อยอดการควบคุมอุณหภูมิและความชื้น ในโรงเห็ดก็ได้เช่นกัน เห็นไอเดียในการต่อยอดการใช้งานแล้วใช่ไหมครับ เรามาเริ่มกันเลยนะครับ

อุปกรณ์ที่ต้องใช้
  1. เซนเซอร์ DHT11
  2. Arduino Board ( แนะนำ Arduino Uno R3
  3. Jump Wire
  4. Breadboard
ท่านสามารถดาวน์โหลด DHT11 Datasheet ได้ที่นี่ครับ

1. จัดวางเซนเซอร์ DHT11 และ Arduino Uno R3 บน Breadboard ดังรูปครับ


2. จากนั้นต่อสายตามลำดับดังนี้
  • ขาที่ 1 ( สายสีแดง ) ต่อเข้า 5V เป็นไฟเลี้ยง
  • ขาที่ 2 ( สายน้ำเงิน ) ต่อเข้า ขา 2 เป็นตัวส่งข้อมูล ท่านสามารถต่อขาอื่นก็ได้นะครับ แต่อย่าลืมไปแก้โค๊ดด้วยตรง #define DHTPIN 2 ซึ่งเป็นตัวกำหนดขารับข้อมูลของ Arduino Board

3. เมื่อต่อสายครับทุกสายแล้ว ก็จะได้วงจรวัดอุณหภูมิ และความชื้นดังรูปครับ


4. จากนั้นก็พิมพ์ Source และอัพโหลดเข้า Arduino Board ท่านสามารถดาวน์โหลด Source Code ตัวอย่างได้ที่นี่ครับ


5. เมื่อทำทุกอย่างครบทุกขั้นตอน ก็จะได้ผลการวัดผ่าน Serial Monitor ดังรูปครับ




Ezy Arduino Projects 01: การทำวงจรไฟกระพริบ

บทความนี้ สำหรับมือใหม่หัดขับ Arduino นะครับ ส่วนผุ้อ่านท่านใด มีพื้นฐานด้าน อิเล็กทรอนิกส์หรือเล่น Arduino มาบ้างแล้ว สามารถข้ามบทความนี้ ไปบทความที่โปรกว่านี้ได้เลยนะครับ

วงจรนี้ เป็นวงจรสำหรับท่านที่เพิ่งเริ่มหัดเขียนโปรแกรม หัดเล่น Arduino ถ้าเปรียบกับการฝึกเขียนโปรแกรม ก็เหมือน ๆ กับการเขียนโปรแกรมตัวแรกที่ต้องเขียนเป็นโปรแกรมแรก นั่นคือ สวัสดีชาวโลก ( Hello World ) นั่นเองครับ เรามาเริ่มกันเลยนะครับ

 อุปกรณ์ที่ต้องใช้:
  1. Led สีไหนก็ได้นะครับ
  2. Jumper Wire
  3. Arduino บอร์ด ( แนะนำ Arduino UNO R3 )
เมื่อเตรียมอุปกรณ์เสร็จแล้ว ก็มาเริ่มกันเลยนะครับ

1. ต่อวงจรตามรูป อย่าลืมนะครับ Led Diode ขาสั้นต่อลงกราวด์ ขายาวต่อใส่สัญญาณไฟ ในที่นี้เป็น ขา 13 นะครับ
2. เปิด Arduino IDE ขึ้นมา จะมีฟังก์ชัน เปล่า ๆ มาให้ 2 ฟังก์ชันนั่นคือ setup และ loop ไม่ต้องตกใจนะครับ เพราะทุกโปรแกรมที่เราจะเขียนเพื่อควบคุมเจ้า Arduino จะมี 2 ฟังก์ชันนี้เสมอ


 3. คลิกที่เมนู File >> Examples >> 01.Basics >> Blink ( โปรแกรมไฟกระพริบ )


4. จะมีโปรแกรมไฟกระพริบ ขึ้นมาให้ครับใน Workshop แรกนี้เรายังไม่เขียนโปรแกรมเองครับ ฝึกอัพโหลด Arduino Sketch และทำความคุณเคยกับ Arduino IDE กันก่อน


5. คลิกที่เมนู Sketch >> Upload ขั้นตอนนี้ จะเป็นการอัพโหลดโปรแกรมตัวอย่างที่เราเพิ่งเปิดขึ้นมา ให้เข้าไปอยู่ในตัวเจ้า Arduino ครับ


6. เมื่อทำทุกอย่างตามขั้นตอนอย่างถูกต้องแล้ว จะได้ผลลัพธ์ดังรูปครับ คือไฟกระพริบ โดยหน่วงเวลา 1 วินาที


สิ่งที่ท่านผู้อ่านได้รับจาก Workshop แรกนี้ก็คือ ได้ทำความคุณเคยกับตัวบอร์ด Arduino ได้ฝึกต่อวงจรพื้นฐาน และได้ทำความคุณเคยกับ Arduino IDE ถึงแม้ Led จะเป็นอุปกรณ์เล็ก ๆ และวงจรก็ต่อช่างจะแสนง่าย แต่เมื่อมีการสร้างวงจรที่ซับซ้อนขึ้น ยังไงก็หนีไม่พ้นต้องใช้ Led เป็น Visual ในการติดต่อกับผู้ใช้อยู่ดีครับ เอาง่าย ๆ เครื่องใช้ไฟฟ้า โทรทัศน์ Notebook หรือแม้แต่เครื่องจักรอุตสาหกรรม ก็ต้องมี Led ครับ ฉะนั้น Led เป็นสิ่ง ๆ เล็ก ๆ ที่ไม่ควรมองข้ามกันเลยทีเดียว

7/16/2558

การติดตั้ง Library สำหรับ Arduino

การติดตั้ง Library สำหรับ Arduino

7/14/2558

Arduino Shields คืออะไร

Arduino Shields คือ

7/13/2558

Open Souce คืออะไร

Open Source ( โอเพนซอร์ส ) คือ วิธีการในการออกแบบ พัฒนา และแจกจ่ายสำหรับต้นฉบับของสินค้าหรือความรู้ โดยเฉพาะซอฟต์แวร์ โดยโอเพนซอร์สถูกพิจารณาว่าเป็นทั้งรูปแบบหนึ่งในการออกแบบ และแผนการในการดำเนินการ โอเพนซอร์สเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นนำเอาระบบนั้นไปพัฒนาได้ต่อไป

Open Source (ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ) เริ่มต้นจากการเคลื่อนไหวภายใต้ชื่อซอฟต์แวร์เสรี (free software) ในช่วง พ.ศ. 2526 จนกระทั่งในปี 2531 คำว่า Open Source ได้ถูกนำมาใช้แทนคำว่า "ฟรี" เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจและให้ความรู้สึกสบายใจต่อทั้งผู้ใช้และผู้พัฒนา รวมถึงคำว่า ฟรี ในลักษณะของคำว่าเสรีนอกเหนือจากคำว่าฟรีในลักษณะไม่เสียค่าใช้จ่าย ผู้ใช้งานรวมถึงผู้พัฒนาสามารถนำซอฟต์แวร์มาใช้งาน แก้ไข แจกจ่าย โดยสามารถนำมาปรับปรุงทั้งในลักษณะส่วนตัว หรือในหน่วยงานเอกชนได้ Open Source อนุญาตให้ทุกคนสามารถนำซอฟต์แวร์ไปพัฒนา รวมถึงวางขายและทำการตลาด

Open Source ที่เป็นที่รู้จักกันดีได้แก่ LAMP (Linux, Apache, MySQL, PHP) 4 ทหารเสือแห่งโลก Open Source ลักษณะเงื่อนไขทางลิขสิทธิ์ที่นิยมได้ GNU GPL (สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู จีพีแอล) และ Berkeley Software Distribution -BSD (สัญญาอนุญาตแจกจ่ายซอฟต์แวร์ของเบิร์กลีย์ บีเอสดี) จากรายงานของกลุ่มสแตนดิชประมาณการกันว่า Open Source ทำให้หน่วยงานของรัฐและเอกชนประหยัดงบประมาณจากการใช้งาน Open Source ได้กว่า 6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐต่อปี

Credit: wikipedia.org

Arduino คืออะไร

Arduino  อ่านว่า (อา-ดู-อิ-โน่ หรือ อาดุยโน่) คือ บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ (microcontroller board) ชนิดหนึ่ง ถือกำเนิดในประเทศอิตาลี มีการพัฒนาแบบ Open Source คือมีการเปิดเผยข้อมูลการพัฒนาทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นด้าน Hardware หรือ Software คุณสามารถนำไปพัฒนาต่อได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น

โครงการ Arduino สร้างและออกแบบบนกลุ่มไมโครคอนโทรลเลอร์บอร์ด โดยมีผู้ผลิตหลักคือ SmartProjects ในประเทศอิตาลี และโดยผู้ผลิตรายอื่นหลายๆเจ้าด้วยกัน โดยใช้ ไมโครคอนโทรลเลอร์ 8 บิต ของ Atmel AVR หรือ โปรเซสเซอร์ 32 บิตของ ARM Atmel โดยมีชุดอินพุต/เอาต์พุต ทั้งแบบดิจิตอลและอนาล็อก และยังสามารถเพิ่มเชื่อมต่อ ด้วย Shields หรือวงจรอื่น ๆ ได้ด้วย บอร์ดมีการเชื่อมต่อการสื่อสารแบบอนุกรม และแบบ USB ในบางรุ่นสำหรับโหลดโปรแกรมจากคอมพิวเตอร์ สำหรับการเขียนโปรแกรมเพื่อสั่งงาน Arduino จะใช้ภาษา C/C++ โดยทาง Arduino ได้เตรียม IDE สำหรับการพัฒนาโปรแกรมให้ใช้ได้ฟรีครับ

Arduino เปิดตัวครั้งแรกในปี 2005 โดยเป็นโปรเจ็คสำหรับการเรียนการสอน ของนักเรียนที่  Interaction Design Institute Ivrea ในประเทศอิตาลี ตอนนั้นยังใช้ภาษา BASIC Stamp ในการเขียนโปรแกรม และราคาบอร์ดก็ตกอยู่ราว 100 เหรียญ ซึ่งถือว่าแพงไปสำหรับนักเรียนนักศึกษา

ชื่อ Arduino ได้มาจากบาร์ในเมือง Ivrea ซึ่งเป็นบาร์ที่กลุ่มผู้ก่อตั้งโปรเจ็ค Arduino ใช้พบปะกัน ซึ่งบาร์ดังกล่าวมีชื่อว่า Arduin of Ivrea ครับ

โดยรวมแล้วโครงการ Arduino ทำให้ไมโครคอนโทรลเลอร์บอร์ด ถูกลงอย่างมากเลยนะครับ อย่างเมื่อก่อนตอนเป็นนักศึกษาผู้เขียนเคยอยากลองเล่นพวก MCS-51 หรือพวก Basic Stamp ราคาก็เป็นหลัก พันหรือหลายพันบาท ทำให้ความอยาก ความใฝ่รู้แทบจะหายไปเลยทีเดียว แต่ ณ ตอนนี้ Arduino Project ทำให้ เรา ๆ ท่าน ๆ ที่สนใจด้านอิเล็กทรอกนิกส์ หรือการเขียนโปรแกรมไมโครคอนโทรลเลอร์ สามารถเริ่มต้นได้ในราคาไม่ถึง 500 บาทครับ